ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ความปลอดจากอวิชชาโยคะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท.! บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้แจ้งชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นแห่งผัสสายตนะ 6 ด้วย ซึ่งความดับไปแห่งผัสสายตนะ 6 ด้วย ซึ่งรสอร่อยแห่งผัสสายตนะ 6 ด้วย ซึ่งโทษแห่งผัสสายตนะหกด้วย ซึ่งอุบายเครื่องพ้นไปจากผัสสายตนะ 6 ด้วย; เมื่อเขารู้ชัดตามทีเป็นจริงอยู่เช่นนั้น, อวิชชาและอัญญาณใด ๆ ในผัสสายตนะหก อวิชชาและอัญญาณนั้น ย่อมไม่นอนเนื่องอยู่ในบุคคลนั้น. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า ความปลอดภัยจากอวิชชาโยคะ.
ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แหละจึงรวมเป็น การไม่ประกอบอยู่ด้วยกามโยคะ 1 ความไม่ประกอบอยู่ด้วยภวโยคะ 1 การไม่ประกอบอยู่ด้วยทิฏฐิโยคะ 1 และการไม่ประกอบอยู่ด้วยอวิชชาโยคะ 1.
ภิกษุ ท.! บุคคลไม่ประกอบด้วยกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพโดยเด็ดขาด อันเป็นอกุศลธรรมอันลามกเศร้าหมอง เป็นเหตุให้มีภพใหม่ อันกระสับกระส่าย มีผลเป็นทุกข์ มีชาติชราและมรณะต่อไป; เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า "ผู้มีปรกติเกษมจากโคะ (โยคกฺเขมี)" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้คือ ความปลอดจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ 5 อย่าง แล.
(คาถาผนวกท้ายพระสูตร)
สัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมแล้วด้วยกามโยคะ ด้วยภวโยคะ ด้วยทิฏฐิโยคะ และถูกอวิชชากระทำในเบื้องหน้าแล้ว, มีปรกติไปสู่ชาติและมรณะ; ย่อมไปสู่สังสารวัฏ.
ส่วนสัตว์เหล่าใดรอบรู้แล้ว ซึ่งกามและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง, ถอนขึ้นได้แล้วซึ่งทิฏฐิโยคะ, และพรากออกได้โดยเด็ดขาดซึ่งอวิชชา, สัตว์เหล่านั้นแล ไม่ประกอบแล้วด้วยกิเลสอันประกอบสัตว์ไว้ในภพทั้งปวง, เป็นมุนี ล่วงเสียได้ซึ่งโยคะกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ ; ดังนี้แล.
- จตุกฺก. อํ 21/15/10.