(จ. ธรรมเป็นอุปการะมากแก่การตามบรรลุถึงซึ่งความจริง)

ภารทวาชะ ! การตั้งตนไวในธรรม (ปธาน) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง : ถาบุคคลไมตั้งตนไวในธรรมแลวไซรเขาก็ไมพึงตามบรรลุถึงซึ่งความจริงได. เพราะเหตุที่เขาตั้งตนไวในธรรม เขาจึงบรรลุถึงซึ่งความจริง, เพราะเหตุนั้น การตั้งตนไวในธรรม จึงชื่อวาเปนธรรมมีอุปการะมากแกการตามบรรลุถึงซึ่งความจริง.

ภารทวาชนะ ! การพิจารณาหาความสมดุลยแหงธรรม (ตุลนา) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการตั้งตนไวในธรรม : ถาบุคคลไมพบความสมดุลยแหงธรรมนั้นแลวไซร เขาก็ไมพึงตั้งตนไวในธรรม. เพราะเหตุที่เขาพบซึ่งความสมดุลยแหงธรรม เขาจึงตั้งตนไวในธรรม; เพราะเหตุนั้น การพิจารณาหาความสมดุลยแหงธรรม จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการตั้งตนไวในธรรม

ภารทวาชะ ! อุสสาหะ เปนธรรมมีอุปการะมากแกการพิจารณาหาความสมดุลยแหงธรรม : ถาบุคคลไมพึงมีอุสสาหะแลวไซร เขาก็ไมพึงพบซึ่งความสมดุลยแหงธรรม. เพราะเหตุที่เขามีอุสสาหะ เขาจึงพบความสมดุลยแหงธรรม; เพราะเหตุนั้น อุสสาหะจึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการพิจารณาหาความสมดุลยแหงธรรม.

ภารทวาชะ ! ฉันทะ เปนธรรมมีอุปการะมากแกอุสสาหะ : ถาบุคคลไมถึงยังฉันทะใหเกิดแลวไซร เขาก็ไมพึงมีอุสสาหะ. เพราะเหตุที่ฉันทะเกิดขึ้น เขาจึงมีอุสสาหะ; เพราะเหุตนั้น ฉันทะจึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกอุสสาหะ.

ภารทวาชะ ! ความที่ธรรมทั้งหลายทนไดตอการเพงพินิจ (ธมฺมนิชฺ-ฌานกฺขนฺติ) เปนธรรมมีอุปการะมากแกฉันทะ : ถาธรรมทั้งหลายไมถึงทนตอ. การเพงพินิจแลวไซร ฉันทะก็ไมพึงเกิด. เพราะเหตุที่ธรรมทั้งหลายทนตอการเพงพินิจ ฉันทะจึงเกิด; เพราะเหตุนั้น ความที่ธรรมทั้งหลายทนตอการเพงพินิจ จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกฉันทะ.

ภารทวาชะ ! ความเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะ (อตฺถุปปริกฺขา) เปนธรรมมีอุปการะมากแกความที่ธรรมทั้งหลายทนตอการเพงพินิจ: ถาบุคคลไมเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะแลวไซร ธรรมทั้งหลายก็ไมพึงทนตอการเพงพินิจ.เพราะเหตุที่บุคคลเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะ ธรรมทั้งหลายจึงทนตอการเพงพินิจ; เพราะเหตุนั้น การเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะ จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกความที่ธรรมทั้งหลายทนตอการเพิ่งพินิจ.

ภารทวาชะ ! การทรงไวซึ่งธรรม (ธมฺมธารณา) เปนธรรมมีอุปการะมากแกความเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะ. ถาบุคคลไมทรงไวซึ่งธรรมแลวไซรเขาก็ไมอาจเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะได เพราะเหตุที่เขาทรงธรรมไวได เขาจึงเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะได. เพราะเหตุนั้น การทรงไวซึ่งธรรม จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกความเขาไปใครครวญซึ่งอรรถะ.

ภารทวาชะ ! การฟงซึ่งธรรม (ธมฺมสฺสวน) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการทรงไวซึ่งธรรม. ถาบุคคลไมพึงฟงซึ่งธรรมแลวไซร เขาก็ไมพึงทรงธรรมไวได เพราะเหตุที่เขาฟงซึ่งธรม เขาจึงทรงธรรมไวได. เพราะเหตุนั้นการฟงซึ่งธรรม จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการทรงไวซึ่งธรรม.

ภารทวาชะ ! การเงี่ยลงซึ่งโสตะ (โสตาวธาน) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการฟงซึ่งธรรม. ถาบุคคลไมเงี่ยลงซึ่งโสตะแลวไซร เขาก็ไมพึงฟงซึ่งธรรมได เพราะเหตุที่เขาเงี่ยลงซึ่งโสตะ เขาจึงฟงซึ่งธรรมได. เพราะเหตุนั้นการเงี่ยลงซึ่งโสตะ จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการฟงซึ่งธรรม.

ภารทวาชะ ! การเขาไปนั่งใกล (ปยิรุปาสนา) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการเงี่ยลงซึ่งโสตะ. ถาบุคคลไมพึงเขาไปนั่งใกลแลวไซร เขาก็ไมพึงเงี่ยลงซึ่งโสตะ เพราะเหตุที่เขาเขาไปนั่งใกล เขาจึงเงี่ยลงซึ่งโสตะได. เพราะเหตุนั้น การเขาไปนั่งใกล จึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการเงี่ยลงซึ่งโสตะ.

ภารทวาชะ ! การเขาไปหา (อุปสงฺกมน) เปนธรรมมีอุปการะมากแกการเขาไปนั่งใกล. ถาบุคคลไมเขาไปหาแลวไซร เขาไมพึงเขาไปนั่งใกลไดเพราะเหตุที่เขาเขาไปหา เขาจึงเขาไปนั่งใกลได. เพราะเหตุนั้น การเขาไปหาจึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการเขาไปนั่งใกล.

ภารทวาชะ ! สัทธา เปนธรรมมีอุปการะมากแกการเขาไปหา. ถาสัทธาไมพึงเกิดแลวไซร เขาก็จะไมเขาไปหา เพราะเหตุที่สัทธาเกิดขึ้น เขาจึงเขาไปหา. เพราะเหตุนั้น สัทธาจึงเปนธรรมมีอุปการะมากแกการไปหา.

- ม. ม. 13/601-608/655-659.

(ขอผูศึกษาพึงสังเกตวา สิ่งที่เรียกวาความจริงในสูตรนี้ หมายถึงความจริงทั่วไปไมมุงหมายเฉพาะจตุราริยสัจ แตอาจจะใชกับความจริงอันมีชื่อวาจตุราริยสัจได โดยประการทั้งปวง จึงไดนํามากลาวไวในหนังสือเลมนี้.)


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง