ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท. ! สิกขา 3 อย่างเหล่านี้ มีอยู่. 3 อย่าง อย่างไรเล่า ? 3 อย่างคือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. ! อธิสีลสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิสีลสิกขา.
ภิกษุ ท. ! อธิจิตตสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน …. ทุติยฌาน …. ตติยฌาน …. จตุตถฌาน แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิจิตตสิกขา.
ภิกษุ ท. ! อธิปัญญาสิกขา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม รู้ชัดตามเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า อธิปัญญาสิกขา.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล สิกขา 3 อย่าง.
- ติก. อํ. 20/303/529.