การปรินิพพานในทิฏฐธรรม (อีกปริยายหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุ แสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือ แห่ง จักษุ อยู่ไซร้; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ผู้กล่าวซึ่งธรรม" (ธมฺมกถิโก) ดังนี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งจักษุ อยู่ไซร้ ; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควรแก่ธรรม" (ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน) ดังนี้.

ถ้าภิกษุเป็นผู้ หลุดพ้นแล้ว เพราะความเหนื่อยหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพราะความดับไม่เหลือ แห่งจักษุ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า "ผู้บรรลุแล้วซึ่งนิพพานในทิฏฐธรรม" (ทิฏฺฐธมฺมนิพฺพานปตฺโต) ดังนี้.

[ในกรณีแห่ง หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งตา ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้ ; ในสูตรอื่น (ขนฺธ. สํ. 17/199/302) ทรงแสดงไว้ด้วยรูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ แทนอายตะภายในหก อย่างในสูตรนี้ ก็มี].

- สฬา. สํ. 18/177/244.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง