อาการดับแห่งทุกข์ โดยสังเขป

มิคชาละ ! รูป ทั้งหลายที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันเป็นรูปที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ มีลักษณะน่ารัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด มีอยู่. ถ้าภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นไซร้. เมื่อเธอนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่สยบมัวเมา ซึ่งรูปนั้นอยู่. นันทิย่อมดับ. มิคชาละ ! เรากล่าวว่า "ความดับแห่งทุกข์ย่อมมี เพราะความดับแห่งนันทิ" ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ก็ดี ในกรณีแห่ง กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ก็ดี ในกรณีแห่ง รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ก็ดี ในกรณีแห่ง โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยผิวกาย ก็ดี และในกรณีแห่ง ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้โดยนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ทุกประการ ต่างกันแต่ชื่อเท่านั้น).

- สฬา.สํ. 18/45/69.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง