ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่น จะพึงถามอย่างนี้ว่า "อาวุโส! ธรรม 3 อย่างเหล่านี้ มีอยู่ คือราคะ ดทสะ โมหะ. อาวุโส! อะไรเป็นความผิดแปลก อะไรเป็นความแตกต่าง อะไรเป็นเครื่องแสดงความต่าง ระหว่างธรรม 3 อย่างเหล่านั้น ?" ดังนี้ .... ภิกษุ ท .! พ วกเธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่เขาว่า "อาวุโส! ราคะมีโทษน้อย คลายช้า. โทสะมีโทษมาก คลายเร็ว. โมหะมีโทษมาก คลายเช้า".
ถ้าเขาถามว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น, หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์?" ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า สุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่างาม); คือเมื่อเขาทำในใจ ซึ่งสุภนิมตโดยไม่แยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์ . อาวุโส; นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.
ถ้าเขาถามอีกว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น, หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์?" ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า ปฏิฆนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกกระทบกระทั่ง); คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์. อาวุโส! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.
ถ้าเขาถามอีกว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น, หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์?" ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า อโยนิโสมนสิการ (การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย); คือเมื่อทำในใจโดยไม่แยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้ว ก็เป็นไปเพื่อความเจริญโดยยิ่ง เพื่อความไพบูลย์. อาวุโส! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.
ถ้าเขาถามอีกว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้ราคะที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น, หรือราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป?" ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า อสุภนิมิต (สิ่งที่แสดงให้รู้สึกว่าไม่งาม); คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งอสุภนิมิตโดยแยบคาย ราคะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และราคะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป . อาวุโส ! นี้คือ เหตุนี้คือ ปัจจัย.
ถ้าเขาถามอีกว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โทสะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น, หรือโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป?" ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า เมตตาเจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิตอันประกอบอยู่ด้วยเมตตา); คือเมื่อเขาทำในใจซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติโดยแยบคาย โทสะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น และโทสะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป. อาวุโส! นี้คือเหตุ นี้คือปัจจัย.
ถ้าเขาถามอีกว่า "อาวุโส! อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้โมหะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น, หรือโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ละไป? ดังนี้. คำตอบพึงมีว่า โยนิโสมนสิการ คือเมื่อทำในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และโมหะที่เกิดอยู่แล้วก็ละไป อาวุโส! นี้คือเหตุ นี้คือ ปัจจัย.
- ติก. อํ. 20/256/508.