ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ภิกษุไม่ละธรรม 6 อย่างแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา (ความเป็นโสดาบัน). ไม่ละธรรม 6 อย่าง เหล่าไหนเล่า? ไม่ละธรรม 6 อย่างเหล่านี้ คือ :-
ไม่ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน);
ไม่ละ วิฉิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์) ;
ไม่ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;
ไม่ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ไม่ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ไม่ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) .
ภิกษุ ท .! ภิกษุไม่ละธรรม 6 อย่าง เหล่านี้แล เป็นผู้ไม่ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา.
ภิกษุ ท.! ภิกษุละธรรม 6 อย่าง แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐสัมปทา. ละธรรม 6 อย่างเหล่าไหนเล่า ? ละธรรม 6 อย่างเหล่านี้คือ:-
ละ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่ากายของตน);
ละ วิจิกิจฉา (ความลังเลในปฏิปทาทางดับทุกข์);
ละ สีลัพพตปรามาส (การถือเอาศีลและพรตผิดความมุ่งหมายที่แท้จริง) ;
ละ อปายคมนิยราคะ (ราคะที่ควรแก่การซึ่งอบาย) ;
ละ อปายคมนิยโทสะ (โทสะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย) ;
ละ อปายคมนิยโมหะ (โมหะที่ควรแก่การถึงซึ่งอบาย)
ภิกษุ ท.! ภิกษุละธรรม 6 อย่างเหล่านี้แล้ว เป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา, ดังนี้แล.
- ฉกฺก.อํ. 22/487/360.
[ธรรม 6 ประการแห่งสูตรนี้ ในสูตรถัดไป กล่าวว่า เป็นธรรมที่ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ละได้แล้ว (22/487/361); สูตรถัดไปอีกกล่าวว่า เป็นธรรมที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ (22/487/362].