ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการเจริญสติ

ภิกษุ ท. ! ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ในฐานะ 4 อย่าง. 4 อย่าง อย่างไรเล่า ? 4 อย่างคือ :-

1. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ากำหนัดแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย” ดังนี้.

2. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าขัดเคืองแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย” ดังนี้.

3. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่าหลงแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย” ดังนี้.

4. ความไม่ประมาทอันเป็นธรรมเครื่องรักษาจิตด้วยสติ อันบุคคลพึงกระทำโดยอนุรูปแก่ตน ว่า “จิตของเราอย่ามัวเมาแล้ว ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย” ดังนี้.

ภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทั้งหลาย เพราะปราศจากราคะ, จิตไม่ขัดเคืองในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคืองทั้งหลาย เพราะปราศจากโทสะ, จิตไม่หลงในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความหลงทั้งหลาย เพราะปราศจากโมหะ, จิตไม่มัวเมาในธรรม อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาทั้งหลาย เพราะปราศจากความมัวเมา, ดังนี้แล้ว ; ในกาลนั้น ภิกษุนั้น ย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่นไหว ไม่หวาดหวั่น ไม่ถึงความสะดุ้ง และก็มิใช่ถึงธรรมนี้แม้เพราะเหตุแห่งคำของสมณะ (แต่เป็นเพราะการตามรักษาจิตอย่างถูกต้อง ในฐานะทั้ง 4).

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๖๑/๑๑๗.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง