ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! อนุสัยมี 7 อย่างเหล่านี้. 7 อย่างเหล่าไหนเล่า ? 7 อย่างคือ อนุสัยคือกามราคะ 1 อนุสัยคือปฏิฆะ 1 อนุสัยคือทิฏฐิ 1 อนุสัยคือวิจิกิจฉา 1 อนุสัยคือมานะ 1 อนุสัยคือภวราคะ 1 อนุสัยคืออวิชชา 1. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แลคือ อนุสัย 7 อย่าง.
ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัย 7 อย่าง. 7 อย่างเหล่าไหนเล่า ?
ภิกษุ ท .! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือกามราคะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือปฏิฆะ, เพื่อละเพื่อตัดขาดซึ่งอนุสัยคือทิฏฐิ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือวิจิกิจฉา, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือมานะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคือภวราคะ, เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา, ภิกษุ ท.! พรหมจรรย์ที่ประพฤติกันอยู่นี้ เพื่อละเพื่อตัดขาด ซึ่งอนุสัย 7 อย่างเหล่านี้แล.
ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล อนุสัยคือกามราคะก็ดี, อนุสัยคือปฏิฆะก็ดี, อนุสัยคือทิฏฐิก็ดี, อนุสัยคือวิจิกิจฉาก็ดี, อนุสัยคือสมานะก็ดี, อนุสัยคือภวราคะก็ดี, และอนุสัยคืออวิชชาก็ดี, เป็นสิ่งที่ภิกษุ ละได้แล้ว มีรากเง่าอันตัดขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดเน่า ทำให้มีอยู่ไม่ได้ ทำให้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป ;
ภิกษุ ท.! เมื่อนั้น, ภิกษุ นี้ เราเรียกว่า "ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสัญโญชน์แล้ว ได้ทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะรู้จักหน้าตาของมานะอย่างถูกต้องแล้ว" ดังนี้ แล.
- สตฺตก. อํ. 23/8-9/11-12.
( ความมุ่งหมายของการประพฤติพรหมจรรย์ในสูตรนี้ ทรงแสดงว่า เพื่อละเสียซึ่งอนุสัยเจ็ด; ในสูตรอื่น (23/7-8/8-9 ) ทรงแสดงว่าเพื่อตัดเสียซึ่งสังโยชน์ 7 ดูรายละเอียดที่หัวข้อว่า "สังโยชน์ 7" ที่หน้า 388 แห่งหนังสือนี้. )