ข. ผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี

ภิกษุ ท.! บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่ามิใช่สิ่งน่ายินดีในโลกทั้งปวง มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง และมีมรณสัญญาอันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน. เธออาศัยธรรมเป็นกำลังเแห่งพระเสขะทั้ง 5 เหล่านี้ อยู่ คือ สัทธาพละ หิรีพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ. อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ของเธอ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน ปรากฏอยู่, กล่าวคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุนั้น เพราะเหตุที่อินทรีย์ทั้ง 5 เหล่านี้ เป็นธรรมมีกำลังอ่อน จึงเป็นผู้กายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี.

ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล บุคคลผู้เป็นกายัสสเภทาสสังขารปรินิพพายี (ผู้มีสังขารธรรมสำหรับการปรินิพพานต่อกายแตก ?).

- จตุกฺก. อํ. 21/210/169.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง