ลักษณะแห่งจิตที่หลุดพ้นด้วยดี (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! พวกเธอจงกระทำในใจซึ่ง จักษุ โดยแยบคาย และจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุ ให้เห็นตามที่เป็นจริง. ภิกษุ ท.! ภิกษุ เมื่อกระทำในใจซึ่งจักษุโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งจักษุให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ. เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ย่อมมีความสิ้นราคะ; เพราะความสิ้นราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ; เพราะความสิ้นนันทิและราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้.

(ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ และ มนะ ก็มีข้อความที่กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุ ที่กล่าวไว้ข้างบนนี้).

- สฬา.สํ. 18/179/247.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง