ไปยังหน้า : |
(ในตอนต้นแห่งพระบาลีสูตรนี้ ตรัสเล่าถึงช้างจ่าโขลงรำคาญอยู่ด้วยการรบกวนของช้างพลาย ช้างพัง ช้างรุ่น และลูกช้าง ที่ติดตามห้อมล้อม โดยกินหญ้าอ่อนเสียก่อนบ้าง กินยอดไม้ที่หักลงมาได้เสียก่อนบ้าง ลงไปทำน้ำให้ขุ่นเสียก่อนบ้าง ถูกเดินเบียดเสียดเมื่อขึ้นมาจากน้ำบ้าง จึงตัดสินใจหลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ต้องทนความรำคาญอีกต่อไป หักกิ่งไม้ฟาดตัวระงับ ความคันทั่วตัวอยู่อย่างสบาย เป็นอุปมาดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงภิกษุในกรณีนี้ ดังต่อไปนี้ :-)
ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : ในสมัยใด ภิกษุ21.9 เป็นผู้เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กษัตริย์ มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีย์ทั้งหลาย ; ภิกษุ ท.! ในสมัยนั้น ภิกษุนั้นได้มีความคิดว่า “เดี๋ยวนี้เราเกลี่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา กษัตริย์ มหาอำมาตย์ของราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ ทั้งหลาย. ถ้าไฉน, เขาพึงหลีกออกจากหมู่คณะ ไปอยู่ผู้เดียวเถิด” ดังนี้.
ภิกษุนั้น เสพเสนาเสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอนั้น ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม สู่โคนไม้ก็ตาม สู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรงดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา ชำระจิตจากอภิชฌาอยู่ ; ละพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย มีจิตปราศจากพยาบาท เป็นผู้กรุณามีจิตหวังความเกื้อกูลในสัตว์ทั้งปวง ชำระจิตจากพยาบาทอันเป็นเครื่องประทุษร้าย อยู่ ; ละถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถึนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว ชำระจิตจากถีนมิทธะ อยู่ ; ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน ชำระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ อยู่ ; ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า “นี่อะไร นี่อย่างไร” ในกุศลธรรมทั้งหลาย ชำระจิตจากวิจิกิจฉา อยู่.
ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ทั้ง 5 อย่างอันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิตทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้ ได้แล้ว สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. ภิกษุนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่องระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน.
(ในกรณีแห่งการบรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ กระทั่งถีง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งการบรรลุปฐมฌานข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร ต่างกันแต่ชื่อฌาน. ส่วนในกรณีแห่งการบรรลุ สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น ตรัสว่า :-)
ภิกษุนั้น เพราะก้าวล่วง ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เสียได้โดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเธอนั้น ก็สูญสิ้นไป. เธอนั้น บำบัดกิเลสเป็นเครื่องระคายใจได้ อย่างเป็นที่พอใจของตน และ.
- นวก. อํ. ๒๓/๔๕๓-๔๕๖/๒๔๔.