สติปัฏฐาน 4 ที่ส่งผลถึงวิชชาและวิมุตติ

กุณฑลียะ ! สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์ ?

กุณฑลียะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุเป็นผู้ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำออกเสียได้ซึ่งอภิชฌาและโทมนัส ในโลก ; (ในกรณีแห่งเวทนา จิต และธรรม ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).

กุณฑลียะ ! สติปัฏฐาน 4 อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง 7 ให้บริบูรณ์.

กุณฑลียะ ! โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างไรเล่า จึงทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ?

กุณฑลียะ ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปเพื่อความสลัดลง ; (ในกรณีแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน).

กุณฑลียะ ! โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐๗ - ๑๐๘/๓๙๘ - ๓๙๙.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง