ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ! ในกาลใดแล จิตของเธอ เป็นจิตตั้งอยู่ ดำรงอยู่ด้วยดี ในภายใน, และบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่เกิดขึ้นครอบงำจิตตั้งอยู่ ; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอ พึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :-
1. ให้เป็นธรรมมีวิตกวิจาร บ้าง;
2. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตก มีแต่เพียงวิจาร บ้าง;
3. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง;
4. พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง;
5. พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง;
6. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง;
7. พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง;
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมดันเธอเจริญ เจริญด้วยดีแล้วอย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า “เราจักเจริญ กรุณาเจโตวิมุตติ จักกระทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้มีที่ตั้งอาศัย ไม่ให้หยุดชะงัก ให้สั่งสมรอบแล้ว ให้ตั้งมั่นแล้วด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุ ! เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้แล.
ภิกษุ ! ในกาลใดแล สมาธินี้ เป็นธรรมอันเธอเจริญ กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ; ในกาลนั้น เธอพึงเจริญซึ่งสมาธินี้ :-
ให้เป็นธรรมมีวิตกมีวิจาร บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตก มีแต่วิจาร บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีวิตกไม่มีวิจาร บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมเป็นไปกับด้วยปีติ บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมไม่มีปีติ บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยความยินดี บ้าง ;
พึงเจริญให้เป็นธรรมสหรคตด้วยอุเบกขา บ้าง.
(ในกรณีแห่ง มุทิตาเจโตวิมุตติ และอุเบกขาเจโตวิมุตติ ก็มีข้อความที่ตรัสไว้มีลำดับ 7 อย่าง อย่างเดียวกันกับข้างบนนี้).