ไปยังหน้า : |
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งมีอยู่หรือไม่หนอ ซึ่งเมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชาย่อมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้น มีอยู่แล ....ฯลฯ....
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ธรรมอย่างหนึ่งนั้นคืออะไรเล่าหนอ ....ฯลฯ....?"
ภิกษุ ! อวิชชา นั่นแล เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่ง เมื่อภิกษุละได้แล้ว อวิชชายอมละไป วิชชาย่อมเกิดขึ้น
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร อวิชชาจึงจะละไปวิชชาจึงจะเกิดขึ้น พระเจ้าข้า ?"
ภิกษุ ! หลักธรรมอันภิกษุในกรณีนี้ได้สดับแล้ว ย่อมมีอยู่ว่า "สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (ว่าเป็นตัวเรา-ของเรา)" ดังนี้. ภิกษุ! ถ้าภิกษุได้สดับหลักธรรมข้อนั้นอย่างนี้ว่า "สิ่งทั้หลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น" ดังนี้แล้วไซร้, ภิกษุนั้นย่อม รู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง; ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อม รอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวง; ครั้นรอบรู้ซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว เธอย่อม เห็นซึ่งนิมิตทั้งหลายของสิ่งทั้งปวง โดยประการอื่น12.1; คือย่อมเห็นซึ่ง จักษุโดยประการอื่น; เห็นซึ่ง รูป ทั้งหลายโดยประการอื่น; เห็นซึ่ง จักขุวิญญาณ โดยประการอื่น; เห็นซึ่ง จักขุสัมผัส โดยประการอื่น; เห็นซึ่ง เวทนา อันเป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยประการอื่น.
(ในกรณีแห่ง โสตะ มานะ ชิวหา กายะ มนะ และ ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยโสตะฆานะ ชิวหา กายะ และมนะ นั้น ๆ ก็ดี ก็ได้ตรัสไว้มีนัยอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งจักษุและธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตต์ด้วยจักษุ ต่างกันแต่ชื่อ).
ภิกษุ ! เมื่อภิกษุรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้แล อวิชชาจึงจะละไป วิชชาจึงจะเกิดขึ้น.
- สฬา.สํ. 18/62/96.