ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้ สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี (กลฺยาณมิตฺต) มีสหายดี (กลฺยาณสหาย) มีพวกพ้องดี (กลฺยาณสมฺปวงฺก) คือ จักเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่ ;
ภิกษุ ท.! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี; กล่าวคือ กถาเป็นเครื่องขูดเกลาอย่างยิ่ง เป็นธรรมเครื่องสบายแก่การเปิดโล่งแห่งจิต ได้แก่อัปปิจฉกถา (เรื่องปรารถนาน้อย) สันตุฏฐิกถา (เรื่องสันโดษ) ปวิเวกกถา (เรื่องความสงัด) อสังสัคคกถา (เรื่องไม่คลุกคลี) วิริยารัมภกถา (เรื่องมีความเพียร) สีลกถา (เรื่องศีล) สมาธิกถา (เรื่องสมาธิ) ปัญญากถา (เรื่องปัญญา) วิมุตติกถา (เรื่องวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนกถา (เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ), เธอจักเป็นผู้ได้โดยง่าย ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเช่นนี้ ;
ภิกษุ ท .! นี้เป็น สิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ; กล่าวคือ จักเป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เพื่อการละซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อการถึงพร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย มีกำลัง (จิต) มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุ ท .! นี้เป็นสิ่งที่หวังได้สำหรับภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกพ้องดี ; กล่าวคือ จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้รู้ซึ่งความเกิดและความดับ (อุทยตฺถคามินี) อันเป็นปัญญาที่เป็นอริยะ เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส ให้ถึงซึ่งสิ้นทุกข์โดยชอบ.
ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมห้าประการ10.3 เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรม 4 ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ :-
เจริญ อสุภะ เพื่อ ละ ราคะ ;
เจริญ เมตตา เพื่อ ละ พยาบาท ;
เจริญ อานาปานสติ เพื่อ ตัดเสียซึ่งวิตก ;
เจริญ
ภิกษุ ท.! เมื่อภิกษุมีอนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา ย่อมตั้งมั่น ; ผู้มีอนัตตสัญญา ย่อมถึงการถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ คือ นิพพาน ในทิฏฐธรรมเทียว.
- นวก. อํ. 23/365/205.
( เมื่ออ่านข้อความตอนนี้ ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงคำที่ตรัสว่า "ความมีมิตรดีเป็นทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์" อันเป็นข้อความที่ผ่านสายตากันบ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยจะรู้ว่าหมายความว่าอย่างไร ).