ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ (วิมุตตายตนะ) 5 ประการ เหล่านี้ มีอยู่, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ. ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ 5 ระการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? 5 ประการ คือ:-
1. ภิกษุ ท.! ในกรณีนี้ พระศาสดา หรือ เพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ย่อม แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา หรือเพื่อสหพรหมจารีแสดงแล้วอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อใจมีปีติ การย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับ แล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย); เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ; ภิกษุ ท.! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่หนึ่ง, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่ จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).
2. ภิกษุ ท.! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; แต่ เธอแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เล่าเรียนมา แก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น โดยพิสดาร อยู่, เธอนั้นย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมตามที่เธอแสดงแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอฟังมาแล้วเล่าเรียนมาแล้วอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท.! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สอง, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประเภท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).
3. ภิกษุ ท.! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอได้ฟังมาได้เล่าเรียนมา; แต่ เธอกระทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา อยู่. เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่เธอทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมาอย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด ; เมื่อใจปีติการย่อมรำงับ ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย); เมื่อมีสุข จิตน่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท.! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สาม, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่าเธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).
4. ภิกษุ ท.! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อสพหรมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอได้ฟังมาได้เล่าเรียนมา ; และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา ; แต่ เธอตรึกตามตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่เธอฟังมาเล่าเรียนมา อยู่, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้นตามที่เธอตรึกตามตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมา อย่างไร. เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ ย่อมเกิดขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด ; เมื่อใจมีปีติ กายย่อมรำงับ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย) ; เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น . ภิกษุ ท.! นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่สี่, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้).
5. ภิกษุ ท.! ข้ออื่นยังมีอีก : พระศาสดา หรือเพื่อนสหรพมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นครูรูปใดรูปหนึ่ง ก็มิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ; และเธอนั้นก็มิได้แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดารตามที่เธอไดัฟังมาได้เล่าเรียนมา ; และเธอก็มิได้ทำการท่องบ่นซึ่งธรรมโดยพิสดารตามที่ตนฟังมาเล่าเรียนมา ; ทั้งเธอก็มิได้ตรึกตรองตามด้วยใจ ตามเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาเล่าเรียนมา ; แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอนั้นถือเอาดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว แข้าไปทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อยู่, เธอย่อมเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม ในธรรมนั้น ตามที่สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่เธอถือเอาด้วยดี กระทำ ไว้ในใจดี เข้าไปทรงไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา อย่างไร, เมื่อเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งอรรถ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งธรรม, ปราโมทย์ย่อมเกิด ขึ้นแก่เธอนั้น ; เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด; เมือ่ใจมีปีติ กายย่อมรำงับ; ผู้มีกายรำงับแล้ว ย่อมเสวยสุข (ด้วยนามกาย); เมื่อมีสุข จิต ย่อมตั้งมั่น. ภิกษุ ท.; นี้คือ ธรรมเป็นเครื่องให้ถึงวิมุตติ ข้อที่ห้า, ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้วอยู่. จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ยังไม่บรรลุตามลำดับ (โดยแน่แท้)
ภิกษุ ท.! ธรรมเป็นเครื่องเข้าถึงวิมุตติ 5 ประการเหล่านี้ ซึ่งในธรรมนั้น เมื่อภิกษุเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส มีตนส่งไปแล้ว อยู่, จิตที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นรอบย่อมถึงที่ซึ่งความสิ้นรอบ หรือว่า เธอย่อมบรรลุตามลำดับ ซึ่งความเกษมจากโยคะอันไม่มีอื่นยิ่งกว่าที่ตนยังไม่บรรลุตามลำดับ, ดังนี้แล.
- ปญฺจก. อํ. 22/22-25/26.