ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งดินโดยความเป็นดิน; ครั้นผู้ยิ่ง (อภิญฺญา) ซึ่งดินโดยความเป็นดินแล้ว,
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งดิน (ปฐวึ น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในดิน (ปฐวิยา น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นดิน (ปฐวิโต น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่าดินของเรา (ปฐวิมฺเมติ น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง ดิน (ปฐวึ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะดินเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว.
(ในกรณีแห่งธรรมอื่นอีก 22 อย่าง คือ น้ำ ไฟ ลม ภูตสัตว์ เทพ ปชาบดี พรหม อาภัสสรพรหม สุภกิณทพรหม เวหัปผลพรหม อภิภู อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว สิ่งที่รู้สึกแล้วทางจมูก,ลิ้น,ผิวกาย สิ่งที่รู้แจ้งแล้ว เอกภาวะ นานาภาวะ และสิ่งทั้งปวง, แต่ละอย่าง ๆ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้โดยระเบียบแห่งถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งดิน จนกระทั่งถึงกรณีแห่งนิพพาน ซึ่งจะได้บรรยายด้วยข้อความเต็มอีกครั้งหนึ่งดังต่อไปนี้ :-)
ภิกษุ ท.! ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ของตนอันตามถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ; ภิกษุนั้น ย่อมรู้ยิ่งซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพาน ; ครั้นรู้ยิ่ง (อภิญญา) ซึ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว.
ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ซึ่งนิพพาน (นิพฺพานํ น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ในนิพพาน (นิพฺพานสฺมึ น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย โดยความเป็นนิพพาน (นิพฺพานโต น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่สำคัญมั่นหมาย ว่านิพพานของเรา (นิพฺพานมฺเมติ น มญฺญติ) ; ย่อม ไม่เพลินอย่างยิ่งซึ่ง นิพพาน (นิพฺพานํ นาภินนฺทติ).
ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ข้อนั้นเรากล่าวว่า เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่เธอนั้นกำหนดรู้รอบ (ปริญฺญาต) แล้ว
- มู. ม. 12/6/4.