ทรงบรรลือสีหนาท ประกาศจตุราริยสัจ

ภิกษุ ท.! พระยาสัตวชื่อสีหะ ออกจากถ้ำที่อาศัย ในเวลาเย็นเหยียดกายแลว เหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แลวเที่ยวไปเพื่อหาอาหาร. บรรดาสัตวเดรัจฉานเหลาใด ไดยินสีหนาท สัตวเหลานั้นก็สะดุงกลัว เหี่ยวแหงใจ : พวกที่อาศัยโพรง ก็เขาโพรง, พวกที่อาศัยในน้ำ ก็ลงน้ำ, พวกที่อยูปา ก็เขาปา, ฝูงนกก็โผบินขึ้นสูอากาศ, เหลาชางของพระราชาในหมูบาน และนิคมและเมืองหลวง ที่ผูกลามไวดวยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัว เหนี่ยวกระชากเชือกใหขาดแลว ถายมูตรและกรีส (อุจจาระ) พลางแลนหนีไป โดยขางโนนขางนี้. ภิกษุ ท.! พระยาสัตวชื่อสีหะ เปนสัตวมีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีอานุภาพมาก กวาบรรดาสัตวเดรัจฉานทั้งหลาย ดวยอาการอยางนี้แล.

ภิกษุ ท.! ฉันใดก็ฉันนั้น, ในกาลใด ตถาคตอุบัติขึ้นในโลก เปนพระอรหันตผูตรัสรูชอบเอง ผูสมบูรณดวยวิชชาและขอปฏิบัติใหถึงวิชชา ผูไปดี ผูรูโลกอยางแจมแจง เปนผูฝกบุรุษที่สมควรฝกได ไมมีใครยิ่งกวา เปนครูผูสอนของเทวดาและมนุษยทั้งหลาย เปนผูปลุกใหตื่น เปนผูจําแนกธรรมสั่งสอนสัตว. ตถาคตนั้น แสดงธรรมวา สักกายะ (คือทุกข) เปนเชนนี้, สักกายสมุทัย เปนเชนนี้, สักกายนิโรธ เปนเชนนี้, สักกายนิโรธคามินี-ปฏิปทา เปนเชนนี้, พวกเทพเหลาใด เปนผูมีอายุนนาน มีวรรณะ มากไปดวยความสุข ดํารงอยูนมนามมาแลว ในวิมานชั้นสูง, พวกเทพนั้น ๆ ไดฟงธรรมเทศนาของตถาคตแลว โดยมาก ก็สะดุงกลัว เหี่ยวแหงใจ สํานึกไดวา "ทานผูเจริญเอย ! พวกเรา เมื่อไมเที่ยง ก็มาสําคัญวา เราเปนผูเที่ยง, เมื่อไมยั่งยืน ก็มาสําคัญวา เราเปนผูยั่งยืน, เมื่อไมมั่นคง ก็มาสําคัญวาเราเปนผูมั่นคง. พวกเราทั้งหลาย เปนผูไมเที่ยง ไมยั่งยืน ไมมั่นคง และถึงทั่วแลว ซึ่ง สักกายะ (คือความทุกข)” ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตเปนผูมีฤทธิ์มาก มีศักดิ์มาก มีานุภาพมาก กวาสัตวโลก พรอมทั้งเทวโลก ดวยอาการอยางนี้แล.

- จตุกฺก. อํ. 21/42/33

[ในสูตรขางบนนี้ ทรงบันลือสีหนาทดวยเรื่องสักกายะ. ในสูตรอื่น (17/103/155-156) ทรงบันลือดวยการประกาศลักษณะ ๓ อยางแหงขันธทั้ง ๕ โดยนัยวา มีลักษณะอยางนี้ ๆ มีอาการเกิดขึ้นอยางนี้ๆ มีอาการดับไปอยางนี้ๆ ; ซึ่งเมื่อพวกเทพไดฟงแลว มีอาการสลดสังเวช หวั่นไหวไปตาม ๆ กัน เหมือนขอความขางตน.]


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง