ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! เราจักแสดงซึ่ง อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการ เหล่านี้. เธอทั้งหลายจงฟัง. ภิกษุ ท.! อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
(1) กามทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่สุด, และชนเหล่าใด ยัง กามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า "กามทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยังกามทั้งหลายให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. กามทั้งหลายดับไปในปฐมฌานนั้น, และชนเหล่านั้น ยัง กามทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในปฐมฌานนั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำ สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(2) วิตกและวิจารทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยังวิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า "วิตกและวิจารทั้งหลาย ดับไปในที่ไหน? และชนเหล่าไหน ยัง วิตกและวิจารทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้ ; คำตอบ พึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความที่วิตกและวิจารทั้งหลายระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกและวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, วิตกและวิจารทั้งหลาย ดับไปใน ทุติยฌาน นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง วิตกและวิจารทั้งหลายให้ดับไป ๆ ในทุติยฌานนั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(3) ปีติ ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง ปีติ ให้ดับไป ๆในที่ใด แล้วแลอยู่; เรากล่าว่า ผู้มีอายุเหล่นั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า "ปีติ ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยังปีติให้ดับไป ๆ ในที่ไหนแล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และเสวยความสุขด้วยนามกาย เข้าถึงตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า 'ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข' ดังนี้ แล้วแลอยู่. ปีติ ดับไปใน ตติยฌาน นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง ปีติ ให้ดับไป ๆ ใน ตติยฌาน นั้นแล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(4) อุุเบกขาสุุข ย่อมดับไปในที่สุุด, และชนเหล่่าใด ยังอุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ว่า "อุเบกขาสุข ดับไปในที่ไหน? และชนเหล่าไหน ยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้, คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่. อุเบกขาสุข ดับไปใน จตุตถฌาน นั้น, และชนเหล่านั้นยัง อุเบกขาสุข ให้ดับไป ๆ ใน จตุตถฌาน นั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่าสาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(5) รูปสัญญาทั้งหลาย ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใดจะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า "รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ในที่ไหน แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่่รู้ข้อนั้น ไม่่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้, คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุุ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะการก้าวล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายโดยประการทั้งปวง เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญาทั้งหลาย เพราะไม่ได้ทำไว้ในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่าง ๆ จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า 'อากาศไม่มีที่สุด' แล้วแลอยู่. รูปสัญญาทั้งหลาย ดับไปใน อากาสานัญจายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง รูปสัญญาทั้งหลาย ให้ดับไป ๆ ใน อากาสานัญจายตนะ นั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(6) อากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า "อากาสานัญจายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน? และชนเหล่าไหน ยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า 'วิญญาณไม่มีที่สุด' แล้วแลอยู่. อากาสานัญจายตนสัญญา ดับไปใน วิญญาณัญจายตนะนั้น, และชนเหล่านั้น ยัง อากาสานัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในวิญญาณัญจายตนะนั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุุ ท .! ใคร ๆ ที่ไม่่เป็นผู้โอ้อวด ไม่่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำ ว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอนน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(7) วิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า "วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหน ยัง วิญญาณัญจายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง อากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า 'อะไร ๆ ไม่มี' แล้วแลอยู่, วิญญาณัญจายตนสัญญา ดับไปใน อากิญจัญญายตนะ นั้น และชนเหล่านั้น ยังวิญญาณัญจายตนสัญยาให้ดับไป ๆ ในอากิญจัญญายตนะ นั้นแล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้้วยคำว่า สาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนา ด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(8) อากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด, และชนเหล่าใด ยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้วด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าวถามอย่างนี้ ว่า "อากิญจัญญายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน ? และชนเหล่าไหนยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่ ? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อากิญจัญญายตนสัญญา ดับไปใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง อากิญจัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน เนวสัญญานาสัญญายตนะ นั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้ ; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
(9) เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ย่อมดับไปในที่ใด และชนเหล่าใด ยัง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใด แล้วแลอยู่; เรากล่าวว่า ผู้มีอายุเหล่านั้น หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ด้วยองค์นั้น ๆ ในที่นั้น แน่แท้. ถ้าผู้ใด จะพึงกล่าถามอย่างนี้ ว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ดับไปในที่ไหน? และชนเหล่าไหนยัง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ในที่ใดแล้วแลอยู่? ข้าพเจ้าไม่รู้ข้อนั้น ไม่เห็นข้อนั้น" ดังนี้ไซร้; คำตอบพึงมีแก่เขาว่า "ผู้มีอายุ! ภิกษุในกรณีนี้ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่, เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ดับไปใน สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น, และชนเหล่านั้น ยัง เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ให้ดับไป ๆ ใน สัญญาเวทยิตนิโรธ นั้น แล้วแลอยู่" ดังนี้. ภิกษุ ท.! ใคร ๆ ที่ไม่เป็นผู้โอ้อวด ไม่เป็นผู้มีมายา พึงเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำ ว่า สาธุ ดังนี้; ครั้นเพลิดเพลินอนุโมทนาด้วยคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นอบน้อมอยู่ จะประคองอัญชลีเข้าไปหา โดยแน่แท้.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 ประการ.
- นวก. อํ. 23/424/237.
(ธรรม 9 ข้อนี้ มีชื่อแปลกออกไปว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ แต่ก็หมายถึงธรรมเก้าประการ ดังที่กล่าวมาแล้วในหมวก ก. และหมวด ข. นั่นเอง หากแต่ว่าในหมวดนี้หมายถึง การที่จิตเข้าอยู่ในธรรมเหล่านั้น อย่างลึกซึ้งและนาน พอที่จะเกิดความรู้สึกว่า หายหิว ดับเย็น ข้ามแล้ว ถึงฝั่งแล้ว. ฝั่งในที่นี้ หมายถึงฝั่งแห่งพระนิพพานโดยปริยาย ; ถ้าเป็นกรณีของผู้ที่ยังไม่บรรลุอรหันผล ก็เป็นเสมือนการชิมรสพระนิพพานเป็นการล่วงหน้า ในระยะเวลาอันจำกัดเท่านั้น.
ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำบรรยายแห่งสมาบัติทั้งเก้านี้ แต่ละข้อ ๆ ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันทุกสมาบัติ ต่างกันแต่ชื่อแห่งฌานและนิทเทศที่บรรยายลักษณะแห่งฌานนั้น ๆ เท่านั้น ซึ่งได้เน้นตัวหนังสือไว้ด้วยอักษรเส้นหนาให้เป็นที่สังเกตง่าย ๆ ทุกแห่งแล้ว ขอให้ผู้ศึกษาพยายามสังเกต ให้เป็นที่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วย จะมีประโยชน์มาก.
สรุปความว่า หมวด ก. หมายถึงการดับตามลำดับของสิ่งที่พึงดับ. หมวด ข.หมายถึงลำดับแห่งการเข้าอยู่ตามลำดับ. หมวด ค. หมายถึงลำดับแห่งการเสวยรสของการเข้าอยู่ทียิ่ง ๆ ขึ้นไปตามลำดับ).