สมณะ 4 ประเภท

ภิกษุ ท.! ในธรรมวินัยนี้แหละ มีสมณะ (ที่ 1) มีสมณะที่ 2 มีสมณะที่ 3 มีสมณะที่ 4. ลัทธิอื่นว่างจากสมณะแห่งลัทธิอื่น. ภิกษุ ท.! เธอจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

ภิกษุ ท.! สมณะ (ที่ 1) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ 3 เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพานมีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นสมณะ (ที่ 1).

ภิกษุ ท.! สมณะที่ 2 เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่งสัญโญชน์ 3 และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็น สภทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นสมณะที่ 2.

ภิกษุ ท.! สมณะที่ 3 เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้นรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 อย่าง เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) ย่อมปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นสมณะที่ 3.

ภิกษุ ท .! สมณะที่ 4 เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท .! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นสมณะที่ 4.

- จตุกฺก. อํ. 21/323/241.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง