อัฏฐังคิกมรรค เพื่อการรู้และการละซึ่งธรรมที่ควรรู้และควรละ

ภิกษุ ท. ! ธรรม 8 ประการเหล่านี้ อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง …. เพื่อการรู้รอบ …. เพื่อการสิ้นไปรอบ …. เพื่อการละ …. เพื่อความสิ้นไป …. เพื่อความเสื่อมไป …. เพื่อความจางคลาย …. เพื่อความดับ …. เพื่อความสละทิ้ง …. เพื่อความสลัดคืน …. ซึ่งราคะ …. ซึ่งโทสะ …. ซึ่งโมหะ …. ซึ่งโกธะ …. อุปนาหะ …. มักขะ …. ปลาสะ …. อิสสา …. มัจฉริยะ …. มายา …. สาเถยยะ …. ถัมภะ …. สารัมภะ …. มานะ …. อติมานะ …. มทะ …. ปมาทะ. แปดประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? 8 ประการคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! ธรรม 8 ประการเหล่านี้แล อันบุคคลพึงเจริญ เพื่อการรู้ยิ่ง ฯลฯ ซึ่งราคะ ฯลฯ แล.

- อฏฺฐก. อํ. 23/359, 361/201, 204.

(ข้อความทั้งหมดนี้ ในบาลีประสงค์จะให้แยกเป็นสูตร ๆ เป็นเรื่อง ๆ ตามความแตกต่าง แห่งกิริยาอาการ เช่นการรู้ยิ่ง ก็สูตรหนึ่ง ; และแยกตามชื่อของกิเลสที่ต้องละ กิเลสชื่อหนึ่ง ก็สูตรหนึ่ง เช่นรู้ยิ่งซึ่งราคะเป็นต้น ก็สูตรหนึ่ง ; รวมกันเป็น 170 สูตร คือมีกิริยาอาการสิบ มีชื่อกิเลสที่ต้องละสิบเจ็ดชื่อ คูณกันเข้าเป็น 170 ในที่นี้นำมาทำเป็นสูตรเดียว เพื่อง่ายแก่การศึกษาและประหยัดเวลา).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง