พระอริยบุคคลมีหลายระดับ เพราะอินทรีย์ยิ่งหย่อนกว่ากัน

ภิกษุ ท.! อินทรีย์ทั้งหลาย 5 ประการเหล่านี้ มีอยู่. 5 ประการ อย่างไรเล่า ? 5 ประการคือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท.! เหล่านี้แลอินทรีย์ 5 ประการ.

ภิกษุ ท.! เพราะความเพียบพร้อมบริบูรณ์แห่งอินทรีย์ 5 ประการเหล่านี้แล ผู้ปฏิบัติย่อมเป็นพระอรหันต์.

เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้น ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อันตราปรินิพพายี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุปหัจจปรินิพพายี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อสังขารปรินิพพายี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สสังขารปรินิพพายี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น อุทธํโสโตอกนิฏฐคามี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สกทาคามี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น เอกพีชี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น โกลังโกละ. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัตตักขัตตุปรมะ. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น ธัมมานุสารี. เพราะอินทรีย์ทั้งหลายหย่อนกว่านั้นอีก ผู้ปฏิบัติย่อมเป็น สัทธานุสารี.

.... (19/267/885) : ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนี้แล ความต่างแห่งผลย่อมมี เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ; เพราะความต่างแห่งผล จึงมีความต่างแห่งบุคคล แล.

....(/19/267/887) : ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุอย่างนี้แล เป็นอันว่า ผู้กระทำให้บริบูรณ์ ย่อมทำให้สำเร็จได้บริบูรณ์; ผู้กระทำได้เพียงบางส่วนก็ทำให้สำเร็จได้บางส่วน. ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่าอินทรีย์ทั้งหลาย 5 ย่อมไม่เป็นหมันเลย ดังนี้แล.

- มหาวาร. สํ. 19/271/899-900.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง