ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้น (ปฏิสลฺลาณ) เป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น จงเป็นผู้ตามประกอบเจโตสมถะในภายใน มีฌานอันตนไม่ละเลย ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนความยินดีในสุญญาคารอยู่เถิด. ภิกษุ ท.! เมื่อประพฤติกระทำเช่นนั้นอยู่, ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผลทั้งสอง เป็นอันเธอหวังได้ คือ อรหัตตผลในทิฏฐธรรมนี้ หรือว่าเมื่อเชื้อ (อุปาทิ) เหลืออยู่ ก็มีความเป็นอนาคามี.
- อิติวุ. ขุ. ๒๕/๒๕๙/๒๒๓.
(ในสูตรอื่นแสดงอานิสงส์แห่งการหลีกเร้นไว้ด้วยการ รู้ชัดความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งขันธ์ 5 ก็มี. - ๑๗/๒๐/๓๐. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับของขันธ์ห้าในหนังสือปฏิจจ. โอ. หน้า ๒๕๙ – ๒๖๒ และที่หน้า 338-341.
ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอริยสัจ 4 ก็มี ดังที่ได้ยกมาไว้ในภาคนำแห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า 75.
ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการ รู้ชัดอายตนิกธรรม 6 หมวด ๆ ละ 5 อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดเพราะจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นผู้รู้ชัดอายตนิกธรรม 30 อย่างว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๐๐/๑๔๘.
ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง 6 หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๘๑/๒๕๐).