ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ที่สุดในเบื้อต้นของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ; ก่อนแต่นี้ อวิชชามิได้มี; แต่ว่า อวิชชาเพิ่งมีต่อภายหลัง. ภิกษุ ท.! คำกล่าวอย่างนี้แหละ เป็นคำที่ใคร ๆ6.1 ควรกล่าว และควรกล่าวด้วยว่า "อวิชชา ย่อมปรากฏเพราะมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่า ถึงแม้อวิชชานั้น ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของอวิชชา? คำตอบพึงมีว่า "นิวรณ์ทั้งหลาย 5 ประการเป็นอาหารของอวิชชา" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่า ถึงแม้นิวรณ์ทั้งหลาย 5 ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของนิวรณ์ทั้งหลาย 5 ประการ? คำ ตอบพึงมีว่า "ทุจริตทั้งหลาย 3 ประการ" ดังนี้.
ภิกษุ ท.! เรากล่าวว่า ถึงแม้ทุจริตทั้งหลาย 3 ประการ ก็เป็นธรรมชาติมีอาหาร หาใช่เป็นธรรมชาติที่ไม่มีอาหารไม่. ก็อะไรเล่า เป็นอาหารของทุจริตทั้งหลาย 3 ประการ? คำตอบพึงมีว่า "การไม่สำรวมอินทรีย์" ดังนี้.
....ฯลฯ.... ....ฯลฯ....
การไม่สำรวมอินทรีย์บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำทุจริตทั้งหลาย 3 ประการ ให้บริบูรณ์;
ทุจริตทั้งหลาย 3 ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำนิวรณ์ทั้งหลาย 5 ประการให้บริบูรณ์;
นิวรณ์ทั้งหลาย 5 ประการบริบูรณ์แล้ว ย่อมทำอวิชชาให้บริบูรณ์.
ภิกษุ ท.! อาหารแห่งอวิชชานี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ และบริบูรณ์แล้วด้วยอาการอย่างนี้.
- ทสก. อํ. 24/120/61.
[ตามปกติเราได้ยินได้ฟังสั่งสอนกันมาว่า อวิชชาอไม่มีปัจจัย ในที่นี้ได้ตรัสว่า มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย ควรที่นักศึกษาจะได้พิจารณ าดูให้เป็นอย่างดี ว่ามีนิวรณ ์เป็นปัจจัยหรืออาหาร เพ ราะมีประโยคว่า "อิทปฺป จฺจยา อวิชฺชา" (ทสก. อํ. 24/120/61 บรรทัดที่ 3 นับขึ้น)]