ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! บุคคล 4 ประเภทนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สี่ประเภท เหล่าไหนเล่า? 4 ประเภทคือ สมณอจละ สมณปุณฑรีกะ สมณปทุมะ สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ.
ภิกษุ ท.! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณอจละ (ผู้ไม่หวั่นไหว) ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ 3 เป็น โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณอจละ.
ภิกษุ ท.! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคลผู้ สมณปุณฑรีกะ (ผู้เสมือนบัวบุณฑริก)? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ 3 และเพราะความมีราคะโทสะโมหะเบางบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้นก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณปุณฑรีกะ.
ภิกษุ ท.! อย่างไรเล่า เรียกว่าบุคคลผู้ สมณปทุมะ (ผู้เสมือนบัวปทุม) ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์เบื้องต่ำ 5 อย่าง เป็น โอปปาติกะ มีการปรินิพพานในภพนั้นไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เรียกว่า บุคคลผู้สมณปทุมะ.
ภิกษุ ท.! อย่างไรเล่า เรียกว่า บุคคผู้สมณสุขุมาล (ผู้ละเอียดอ่อน) ในหมู่สมณะ? ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เจ้าถึงแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท.! อย่างนี้แล เรียกว่า สมณผู้สุขุมาลในหมู่สมณะ.
ภิกษุ ท.! บุคคล 4 ประเภทเหล่านี้แล มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก, ดังนี้แล.
- จตุกฺก. อํ. 21/116/88.