ลักษณะที่เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค! บัดนี้ เป็นการอันสมควรที่พระผุ้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า. ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้."

อานนท์! ในกรณีนี้ บุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษไม่ได้รับการแนะนำ ในธรรมของสัปบุรุษ : -

เขามีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิห่อหุ้มแล้ว อยู่; เขา ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักกายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว, สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง จนเขานำออกไปไม่ได้ จึงเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. (ในกรณีแห่งวิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะและพยาบาท (หรือปฏิฆะ) ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).

อานนท์! ส่วนอริยสาวกผู้มีการสดับ ได้เห็นพระอริยเจ้า เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระ-อริยเจ้า ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ได้เห็นสัปบุรุษ เป็นผู้ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ :-

เธอมีจิตอันสักกายทิฏฐิไม่กลุ้มรุม อันสักกายทิฏฐิไม่ห่อหุ้มอยู่. อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริง ซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสักายทิฏฐิอันเกิดขึ้นแล้ว, สักกายทิฏฐินั้น อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้พร้อมทั้งอนุสัย. (ในกรณีแห่ง วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส กามราคะ และพยาบาท (หรือปฏิฆะ) ก็มีข้อความตรัสไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสักกายทิฏฐิทุกประการ).

- ม. ม. 13/156/155.

(การที่บุคคลลักกายทิฏฐิเป็นต้นไม่ได้ จนเป็นธรรมชาติมีกำ ลังถึงกับเขานำ ออกไม่ได้ นั่นคือลักษณะแห่งความเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. รายละเอียดของสักกายทิฏฐิ ดูได้ที่หัวข้อว่า "สักกายทิฏฐิ มีได้ด้วยอาการอย่างไร" แห่งหนังสือเล่มนี้ ที่หน้า 372).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง