ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งธรรมอันเป็นอริยมรรค และธรรมอันเป็นอนริยมรรค แก่พวกเธอ. เธอทั้งหลายจงฟัง.
ภิกษุ ท. ! อนริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณะ มิจฉาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อนริยมรรค.
ภิกษุ ท. ! อริยมรรค เป็นอย่างไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า อริยมรรค.
- ทสก. อํ. 24/262/145 - 146.
(ในพระบาลีข้างบนนี้ ทรงแสดง สัมมัตตะ 10 และ มิจฉัตตะ 10 ว่าเป็นอริยมรรค และอนริยมรรค. ในบาลีแห่งอื่น ๆ แสดงเป็นคู่ ๆ แปลกออกไปอีก คือในสูตรอื่น ๆ ทรงเรียกชื่อของธรรมหมวดนี้ว่า สุกกมรรค - กัณหมรรค ก็มี, เป็นสาธุธรรม - อสาธุธรรม, อริยธรรม - อนริยธรรม, กุศลธรรม - อกุศลธรรม, ธรรมมีประโยชน์ - ธรรมไม่มีประโยชน์, เป็นธรรม - เป็นอธรรม, ไม่เป็นไปเพื่ออาสวะ - เป็นไปเพื่ออาสวะ, เป็นธรรมไม่มีโทษ - เป็นธรรมมีโทษ, เป็นธรรมไม่แผดเผา - เป็นธรรมแผดเผา, ไม่เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส - เป็นเครื่องสั่งสมกิเลส, มีสุขเป็นกำไร - มีทุกข์เป็นกำไร, มีสุขเป็นผลตอบแทน - มีทุกข์เป็นผลตอบแทน, เป็นธรรมทำความสงบ - ไม่เป็นธรรมทำความสงบ, เป็นธรรมของสัตบุรุษ - ไม่เป็นธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ควรทำให้เกิดขึ้น - ธรรมที่ไม่ควรทำให้เกิดขึ้น, ธรรมที่ควรเสพ - ธรรมที่ไม่ควรเสพ, ธรรมที่ควรเจริญ - ธรรมที่ไม่ควรเจริญ, ธรรมที่ควรทำให้มาก - ธรรมที่ไม่ควรทำให้มาก, ธรรมที่ควรระลึกถึง - ธรรมที่ไม่ควรระลึกถึง, ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง - ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้ก็มี. - 24/258 - 265/134 - 154.)