ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท. ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว (เอกนฺตนิพฺพิท) เพื่อความคลายกำหนัด (วิราค) เพื่อความดับ (นิโรธ) เพื่อความสงบ (อุปสม) เพื่อความรู้ยิ่ง (อภิญฺญ) เพื่อความรู้พร้อม (สมฺโพธ) เพื่อนิพพาน. 5 ประการ อย่างไรเล่า ? 5 ประการคือ ภิกษุในกรณีนี้ :-
เป็นผู้ มีปกติตามเห็นความไม่งามในกาย อยู่ ;
เป็นผู้ มีความสำคัญว่าปฏิกูลในอาหาร อยู่ ;
เป็นผู้ มีความสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง อยู่ ;
เป็นผู้ มีปกติตามเห็นว่าไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อยู่ ; และมรณสัญญา เป็นสิ่งที่ภิกษุนั้นเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่.
ภิกษุ ท. ! ธรรม 5 ประการเหล่านี้ เมื่อบุคคลเจริญ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
- ปญฺจก. อํ. 22/94/69.
(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อมีการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ผลย่อมเกิดขึ้นเป็นการน้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัวโดยไม่ต้องเจตนา เหมือนแม่ไก่ฟักไข่อย่างดีแล้ว ลูกไก่ย่อมออกมาเป็นตัว โดยที่แม่ไก่ไม่ต้องเจตนาให้ออกมา, ฉันใดก็ฉันนั้น. ขอให้พิจารณาดูให้ดี จงทุกคนเถิด).