ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอง ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า? สิ่งทั้งปวงคือ (ต่อไปนี้ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละ เป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตะ 6 ประการ คือ:-)
อายตนะภายใน 6 ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน): อายตนะภายนอก 6 ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์); วิญญาณ 6 ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ); สัมผัส 6 ประการ (จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส); เวทนา 6 ประการ (จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา) .
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.
(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดยปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่เมื่อรู้และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจเทียบเคียงได้เอง).
- สฬา. สํ. 18/21/27-28.
(อีกนัยหนึ่ง)
ภิกษุ ท.! เมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาด ซึ่งสิ่งทั้งปวง ย่อมไม่เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์. สิ่งทั้งปวง อะไรกันเล่า? สิ่งทั้งปวงคือ (ต่อไปนี้ ทรงแสดง ธรรมที่ควรรู้ควรละ เป็นหมวด ๆ ตามหลักแห่งอายตนะ 6 ประการ คือ :-)
อายตนะภายใน 6 ประการ (จักษุ ฯลฯ มโน); อายตนะภายนอก 6 ประการ (รูป ฯลฯ ธรรมารมณ์); วิญญาณ 6 ประการ (จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ); วิญญาณวิญญาตัพพธรรม 6 ประการ (จักขุวิญญาณวิญญาตัพพธรรม ฯลฯ มโนวิญญาณวิญญาตัพพธรรม).
ภิกษุ ท.; เหล่านี้แล คือสิ่งทั้งปวง ซึ่งเมื่อไม่รู้ยิ่ง ไม่รู้รอบ ไม่คลายกำหนัด ไม่ละขาดแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์.
(ต่อไปนี้ ทรงแสดงโดย ปฏิปักขนัย ถึงสิ่งทั้งปวงที่เมื่อรู้และละแล้ว เป็นผู้สมควรเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ โดยนัยตรงกันข้าม ซึ่งผู้ศึกษาอาจเทียบเคียงได้เอง).
- สฬา.สํ. 18/22 -23/29-30.