ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท.! ภิกษุ ผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือ :-
พึงทำในจึงซึ่ง สมาธินิมิต โดยกาลอันควร
พึงทำในจึงซึ่ง ปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร
พึงทำในจึงซึ่ง อุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร.
ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงกระทำในใจแต่เพียงสมาธินิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะทำให้เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน.
ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงปัคคาหนิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะทำจิตให้เป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน.
ภิกษุ ท.! ถ้าภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึง กระทำในใจแต่เพียงอุเปกขานิมิตโดยส่วนเดียว เท่านั้นไซร้, ฐานะเช่นนั้น จะไม่ทำจิตให้ตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! ในกาลใดแล ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต กระทำในใจซึ่งสมาธินิมิต โดยกาลอันควร, กระทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร, กระทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร ; ในกาลนั้น จิตนั้น ย่อมเป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน เป็นจิตประภัสสร ไม่รวนเร ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง ประกอบตัวเบ้าแล้วฉาบปากเบ้า แล้วจับแท่งทองด้วยคีม วางที่ปากเบ้า แล้วสูบสมโดยกาลอันควร พรมน้ำโดยกาลอันควร ตรวจดูโดยกาลอันควร. ภิกษุ ท.! ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง จะพึง สูปลมตะพึดไปโดยส่วนเดียว กะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็จะทำทองให้ไหม้ (สุกเกิน) ; ถ้าพรมน้ำตะพืดไป กะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็ จะทำทองนั้นให้เย็น21.6 (อยู่เช่นเดิม) ; ถ้าตรวจดูตะพืดโดยส่วนเดียวกะทองนั้น ฐานะเช่นนั้น ก็จะทำให้ทองนั้นไม่ถึงซึ่งความสุกอย่างพอดี. ภิกษุ ท.! ในกาลใด ช่างทองหรือลูกมือของช่างทอง สูบลมโดยกาลอันควรกะทองนั้น, พรมน้ำโดยกาลอันควรกะทองนั้น, ตรวจดูโดยกาลอันควรกะทองนั้น ; ในกาลนั้น ทองนั้น ย่อมเป็นทองมีเนื้ออ่อน ควรแก่การงานของช่างทอง. ถ้าใครปรารถนาจะกระทำเครื่องประดับต่าง ๆ เช่น ตาบ ตุ้มหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ก็สำเร็จประโยชน์แก่เขานั้น, นี้ฉันใด ;
ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้ตามประกอบในอธิจิต พึงทำในใจซึ่งนิมิตทั้งสามโดยกาลอันควร คือ พึงทำในใจซึ่งสมาธินิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งปัคคาหนิมิต โดยกาลอันควร พึงทำในใจซึ่งอุเปกขานิมิต โดยกาลอันควร, ฉันนั้นเหมือนกัน …. ฯลฯ …. ถ้าภิกษุน้อมจิตไปเพื่อกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ใด ๆ เธอย่อมลุถึงซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในธรรมนั้น ๆ นั่นเทียว ในเมื่ออายตนะ ยังมีอยู่ ๆ.
- ติกฺ อํ. ๒๐/๓๒๙-๓๓๑/๕๔๒.