ไปยังหน้า : |
“ท่านผู้มีอายุ ท. ! ก็ปริยายแม้อย่างอื่น ยังมีอยู่หรือ ที่จะทำให้อริยสาวกเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของท่านดำเนินไปตรง ท่านประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ ?”
“มีอยู่ ท่านผู้มีอายุ ท. ! คือในกาลใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ ซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ ซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้ อริยสาวกนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิของเขาดำเนินไปตรง เขาประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้. ท่านผู้มีอายุ ท. ! ชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ เป็นอย่างไรเล่า ? (ต่อไปนี้ เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับชรามรณะ โดยนัยแห่งอริยสัจ 4 พึงดูได้จากหนังสือ ปฏิจจ. โอ. ที่หน้า 533 ตั้งแต่คำว่า ความแก่ ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ….ถึงคำว่า…. ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ).
“ท่านผู้มีอายุ ท. ! เมื่อใดแล อริยสาวกมารู้ชัดซึ่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่งข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ อย่างนี้. อริยสาวกนั้น ละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ….(ข้อความต่อไปนี้เหมือนกับข้อความในตอนท้ายแห่งหมวด ก. จนกระทั่งถึงคำว่า) …. ไม่หวั่นไหวในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.”