ไปยังหน้า : |
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อริยวิโมกข์ (ความพ้นพิเศษอันประเสริฐ) เป็นอย่างไรเล่า ?"
อานนท์ ! อริยสาวกในกรณีนี้ ย่อมพิจารณาเป็นโดยประจักษ์ ดังนี้ว่า :-
1. กามทั้งหลาย ที่เป็นไป ในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;
2. กามสัญญา ที่เป็นไป ในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, กามสัญญาที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;
3. รูปทั้งหลาย ที่เป็นไป ในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;
4. รูปสัญญาทั้งหลาย ที่เป็นไป ในภพปัจจุบันนี้ เหล่าใดด้วย, รูปทั้งหลายที่เป็นไปในภพเบื้องหน้า เหล่าใดด้วย ;
5. อาเนญชสัญญา เหล่าใดด้วย ;
6. อากิญจัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย ;
7. เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา เหล่าใดด้วย.
(ธรรมทั้งหมด 7 หมู่) นั้น (ล้วนแต่) เป็นสักกายะ. สักกายะมีประมาณเท่าใด, อมตธรรมนั้น คือวิโมกข์แห่งจิต เพราะความไม่ยึดมั่นซึ่งสักกายะมีประมาณเท่านั้น.
อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล เป็นอันว่า อาเนญชสัปปายปฏิปทาเราแสดงแล้ว, อากิญจัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้ว, เนวสัญญานาสัญญายตนสัปปายปฏิปทา เราแสดงแล้ว, การอาศัยแล้ว ๆ ซึ่งสัปปายปฏิปทา (ตามลำดับ ๆ) แล้วข้ามโอฆะเสียได้ เราก็แสดงแล้ว, นั่นแหละคืออริยวิโมกข์.
อานนท์ ! กิจอันใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลอาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหาย, กิจอันนั้นเราได้ทำ แล้วแก่พวกเธอทั้งหลาย. อานนท์! นั่น โคนไม้, นั่น เรือนว่า. อานนท์! พวกเธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท. พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย. นี่แหละ เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนแก่พวกเธอทั้งหลายของเรา.
- อุปริ. ม. 14/79/91-92.