ไปยังหน้า : |
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ผลเท่าใด อันบุคคลพึงบรรลุด้วยเสขญาณ ด้วยเสขวิชชา ผลนั้น ข้าพระองค์บรรลุแล้วลำดับ ; ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงแสดงธรรมที่ยิ่งขึ้นไปแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า !"
วัจฉะ ! ถ้าเช่นนั้น เธอจงเจริญธรรมทั้งสองให้้ยิ่งขึ้นไป คือ สมถะและวิปัสสนา, วัจฉะ ! ธรรมทั้งสองคือ สมถะและวิปัสสนา เหล่านี้แล อันเธอเจริญให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว จักเป็นไปเพื่อแทงตลอดซึ่งธาตุเป็นอเนก10.4 (กล่าวคือ:-)
1. วัจฉะ! เธอจัก มีได้โดยเฉพาะซึ่งอิทธิวิธี มีอย่างต่าง ๆ ตามที่เธอหวัง เช่นเธอหวังว่า เราผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำลังให้เป็นที่แจ้ง, ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำ บัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ, เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน, ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ก็ลอยไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก, ลูบคลำ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้, ดังนี้. ในอิทธิวิธิญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.
2. วัจนะ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีโสตธาตุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงโสตแห่งสามัญมนุษย์ ได้ยินเสียงทั้งสองคือทั้งเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่ไกลและที่ใกล้ ดังนี้. ใน ทิพพโสตญาณธาตุ นั้นๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.
3. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ กำหนดรู้ใจแห่งสัตว์อื่นบุคคลอื่นด้วยใจของตน คือกำหนดรู้จิตที่มีราคะว่ามีราคะ กำหนดรู้จิตที่ไม่มีราคะว่าไม่มีราคะ มีโทสะว่ามีโทสะ ไม่มีโทสะว่าไม่มีโทสะ มีโมหะว่ามีโมหะ ไม่มีโมหะว่าไม่มีโมหะ หดหู่ว่าหดหู่ ฟุ้งซ่านว่าฟุ้งซ่าน ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าถึงซึ่งคุณอันใหญ่ ไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ว่าไม่ถึงซึ่งคุณอันใหญ่ มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่ามีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าว่าไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ตั้งมั่นว่าตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นว่าไม่ตั้งมั่น หลุดพ้นว่าหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นว่าไม่หลุดพ้น ดังนี้. ใน เจโตปริยญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ.
4. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ ระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง, สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง, ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง, ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง, ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่อย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น ๆ. เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่่านั้น ; ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหาร อย่างนั้น ๆ, ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น ; ครั้นจุติจากภพนั้น ๆ ๆ ๆ แล่ว มาเกิดในภพนี้ ดังนี้ : ระลึกได้ถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อน มีอย่างต่าง ๆ พร้อมทั้งอาการและอุทเทส ด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้. ใน ปุพเพนิวาสานุสสติญาณธาตุ10.5 นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะทีอายตนะยังมีอยู่ ๆ.
5. วัจฉะ ! เธอจักมีได้ตามที่เธอหวัง คือ มีจักษุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุของสามัญมนุษย์ เห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่, เลวทรามประณีต, มีวรรณะดี มีวรรณะเลว, มีทุกข์ มีสุข. รู้แจ้งชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต พูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า, เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์," ดังนี้; มีจักษุทิพย์ บริสุทธิ์หมดจดล่วงจักษุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ดังนี้. ใน จุตูปปาตญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่ ๆ
6. วัจฉะ ! เธอจักได้ตามที่เธอหวัง คือ กระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาวสะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้. ใน อาสวักขยญาณธาตุ นั้น ๆ นั่นแหละ เธอก็จักถึงความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายนตนะยังมีอยู่ ๆ.
- ม. ม. 13/257-261/261-266.