ประการที่ 1

ภิกษุ ท. เมื่อภิกษุในกรณีนี้ อาศัยนิมิตรใด กระทำในใจซึ่งนิมิตใดอยู่ อกุศลอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง ได้บังเกิดขึ้น, ภิกษุนั้น พึงละนิมิตนั้นเสีย กระทำในใจซึ่งนิมิตอื่นอันประกอบอยู่ด้วยกุศล. เมื่อภิกษุนั้นกระทำในใจถึงนิมิตอื่นนอกไปจากนิมิตนั้น อันประกอบอยู่ด้วยกุศลอยู่, อกุศลวิตกอันเป็นบาปที่ประกอบอยู่ด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบอยู่ด้วยโมหะบ้าง เหล่านั้น ย่อมละไป ย่อมถึงซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้. เพราะละเสียได้ซึ่งอกุศลวิตกเหล่านั้น จิตของเธอก็ตั้งอยู่ด้วยดี สงบรำงับอยู่ด้วยดี เป็นธรรมเอกผุดมีขึ้น เป็นสมาธิอยู่ ในภายในนั่นเทียว.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนช่างทำแผ่นไม้กระดาน หรือลูกมือของเขา ผู้ฉลาด ตอก โยก ถอนลิ่มอันใหญ่ออกเสียได้ ด้วยลิ่มอันเล็ก นี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (ที่ภิกษุนั้นอาศัยนิมิตแห่งกุศล เพื่อละเสียซึ่งนิมิตแห่งอกุศล ทำจิตให้เป็นสมาธิได้).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง