ความถูกต้องเกี่ยวกับความรู้นึกว่าปฏิกูลหรือไม่ปฏิกูล

ภิกษุ ท. ! 1. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าปฏิกูล ในสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง. 2. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ในสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ เป็นความถูกต้อง. 3. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าปฏิกูล ทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง. 4. ภิกษุ เป็นผู้ มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูล ทั้งในสิ่งที่ปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูล ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง. 5. ภิกษุ เว้นขาดจากความรู้สึกว่า สิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ ตามกาลอันควรอยู่ ก็เป็นความถูกต้อง.

1. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่.

2. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลอยู่.

3. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าปฏิกูลทั้งในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลอยู่.

4. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึง เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “โทสะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ. ราคะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ” ดังนี้ ภิกษุจึงเป็นผู้มีสัญญาว่าไม่ปฏิกูลทั้งในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่.

5. ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไรเล่า ภิกษุจึงเว้นขาดจากความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้ง 2 อย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ? ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้ว่า “ราคะอย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ในส่วนไหน ๆ ในที่ไร ๆ ชนิดไร ๆ. โทสะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ในส่วนไหน ๆ ในที่ไร ๆ ชนิดไร ๆ. โมหะก็อย่าบังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ในส่วนไหน ๆ ในที่ไร ๆ ชนิดไร ๆ” ดังนี้ ภิกษุจึงเว้นขาดจากความรู้สึกว่าสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลเสียทั้งสองอย่าง เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่, ดังนี้แล.

- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๘๙/๑๔๔.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง