อริยสัจ 4 เป็นเอกังสิกธรรมที่ทรงแสดง

(หลังจากที่ทรงปฏิเสธการแสดงอันตคาหิกทิฏฐิสิบ ในฐานะที่เปนอเนกังสิกธรรมตอพระองคแลว, ไดทรงแสดง เอกังสิกธรรม ในธรรมวินัยของพระองค ดังตอไปนี้ :-)

โปฎฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ วาเปนเอกังสิกะนั้น เปนอยางไรเลา ?

โปฏฐปาทะ ! ธรรมที่เราแสดง บัญญัติ วาเปนเอกังสิกะนั้น คือขอที่วา "นี้ เปนทุกข" ดังนี้บาง;…. "นี้ เปนเหตุใหเกิดทุกข" ดังนี้บาง;…. "นี้เปนความดับไมเหลือแหงทุกข" ดังนี้บาง;…. "นี้ เปนขอปฏิบัติใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข" ดังนี้บาง.

โปฏฐปาทะ ! เพราะเหตุไรเลาเราจึงแสดงบัญญติธรรมเหลานั้น วาเปนเอกังสิกธรรม (ธรรมที่ควรแสดงบัญญัติโดยสวนเดียว) ? โปฏฐปาทะ ! ขอนี้เพราะวาธรรมเหลานั้น ประกอบดวยอรรถะ ประกอบดวยธรรมะ เปนเบื้องตนแหงพรหมจรรย เปนไปเพื่อความหนาย เปนไปเพื่อความคลายกําหนัดเปนไปเพื่อความดับ เปนไปเพื่อความสงบรํางับ เปนไปเพื่อความรูยิ่ง เปนไปเพื่อความรูพรอม เปนไปเพื่อนิพพาน; เพราะเหตุนั้น ธรรมเหลานั้นเราจึงแสดง บัญญัติ วาเปนเอกังสิกธรรม.

- สี. ที. 9/236/298.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง