ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ 5 อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ห้าอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไร เล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น ว่า “รูป เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดแห่งรูปเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งรูปเป็นอย่างนี้. เวทนา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งเวทนาเป็นอย่างนี้. สัญญาเป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งสัญญาเป็นอย่างนี้, สังขาร ท. เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดแห่งสังขาร ท. เป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งสังขาร ท. เป็นอย่างนี้. วิญญาณเป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้, ความสลายแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้,” ดังนี้.
ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยนิวรณ์ ตั้งแต่ คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า “ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก นี้."). ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คืออุปาทานขันธ์ 5 อย่างอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.