ง. หมวดโพชฌงค์ (คือธรรม)

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือโพชฌงค์ 7 อย่าง อยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือโพชฌงค์เจ็ดอย่างอยู่ นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุ :-

รู้ชัดซึ่ง สติสัมโพชฌงค์ อันมีอยู่ในภายใน ว่า มีอยู่ ;

รู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์อันไม่มีอยู่ในภายใน ว่า ไม่มีอยู่ ;

รู้ชัดซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดขึ้น ว่า เกิดขึ้นอย่างไร ;

รู้ชัดซึ่งการเจริญเต็มรอบแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ว่า เจริญเต็มรอบแล้วอย่างไร.

(ในกรณีแห่งโพชฌงค์คือ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็มีข้อความที่ตรัสว่า ภิกษุรู้ชัดอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสติสัมโพชฌงค์ ข้างบนนี้).

ด้วยอาการอย่างนี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปรกติพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายในอยู่ บ้าง, ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง, ....ฯลฯ .... (คำที่ละไว้ต่อไปนี้ เหมือนตอนท้ายของหมวด ก. อันว่าด้วยนิวรณ์ ตั้งแต่คำว่า “ในธรรมทั้งหลายอันเป็นภายนอกอยู่ บ้าง,” ไปจนถึงคำว่า "ไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลกนี้.”). ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายคือโพชฌงค์เจ็ตอย่างอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง