ไปยังหน้า : |
.....ก็ข้อนั้น อันเรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่ป็นภายใน, ข้อนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยเหตุผลอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! กามคุณมีห้า อย่างเหล่านี้. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ รูป ที่เห็นด้วยตา, เสียง ที่ฟังด้วยหู, กลิ่น ที่ดมด้วยจมูก, รสที่ลิ้มด้วยลิ้น, และโผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกาย, (แต่ละอย่างล้วน) เป็นสิ่งที่ปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นสิ่งที่ยวนตายวนใจให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยซึ่งความใคร่ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ ; ภิกษุ ท.! สุข โสมนัสอันใดเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณห้าเหล่านี้, สุข โสมนัสนั้น เราเรียกว่า กามสุข อันเป็นสุขบุถุชน เป็นสุขทางเมถุน (มิฬหสุข) ไม่ใช่สุขอันประเสริฐ. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก, ควรกลัว.
ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าถึงซึ่ง ปฐมฌาน...ทุติยฌาน ตติยฌาน...จตุตถฌาน...5 แล้วแลอยู่. นี้ เราเรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ เป็นสุขเกิดแต่ความสงัดเงียบ สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบรำงับ สุขเกิดแต่ความรู้พร้อม. เรากล่าวว่า สุขนั้น บุคคลควรเสพให้ทั่วถึง ควรทำให้เจริญ ควรทำให้มาก, ไม่ควรกลัว
คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัย (ตัดสินใจ) ในความสุข เมื่อรู้จักการวินิจฉัยความสุขแล้ว ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นภายใน, นั้น; คำนั้น เรากล่าวแล้ว เพราะอาศัยเหตุผลนี้
- อุปริ. ม. 14/427/659.