ไปยังหน้า : |
โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป ไม่รู้ทั่วถึงซึ่งทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งรูป, (ในกรณีแห่งเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน); โสณะ ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ มิใช่ผู้ที่ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ไม่รู้เหล่านั้น จะทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วแลอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ หาได้ไม่.
โสณะ ! ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ทั่วถึงซึ่งรูป รู้ทั่วถึงซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งรูป รู้ทั่วถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป รู้ทั่วถึงซึ่งทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งรูป, (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีข้อความที่ตรัสอย่างเดียวกัน ; ): โสณะ! สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการสมมติว่าเป็นสมณะ ในหมู่สมณะ ย่อมเป็นผู้ ควรได้รับการสมมติว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์, อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้รู้ทั่วถึงเหล่านั้น ย่อม ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์แห่งความเป็นสมณะ หรือประโยชน์แห่งความ เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงแล้วอยู่ ในทิฏฐธรรมนี้ ได้ โดยแท้.
- ขนฺธ.สํ. 17/62/101.
(ดูรายละเอียดเกี่ยวกับขันธ์ 5 แต่ละขันธ์ โดยอริยสัจ 4 ที่หน้า 169, 192, 198, 202, 209 แห่งหนังสือเล่มนี้.
สูตรข้างบนนี้แสดงวัตถุแห่งการรู้ด้วยเบญจขันธ์; ในสูตรอื่นแสดงด้วย อินทรีย์ 5 คือ สุขินทรีย์ ทุุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเปขินทรีย์, -19/226/922-923.
มีสูตรอื่นแสดงด้วย อายตนะภายใน 6 ก็มี, - 19/273/812.
และสูตรอื่นแสดงด้วย ปฏิจจสมุปปันนธรรม 11 อย่าง มีชรามรณะ ชาติ ....จนถึง....วิญญาณ สังขาร ก็มี, - 16/53/94).