อานุภาพแห่งสมาธิ

ภิกษุ ท.! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐ ว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้. ภิกษุ ท.! พวกเธอจงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุ ท.! ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ตามเป็นจริง.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง กระทำความเพียรเพื่อให้รู้ว่า “นี้เป็นทุกข์, , นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์,” ดังนี้เถิด.

- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๙๔.

(ในสูตรอื่นทรงแสดงอานุภาพแห่งสมาธิ ด้วยการรู้ชัดความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ 5 ก็มี. - ๑๗/๑๘/๒๗. (ดูรายละเอียดของความเกิดและความดับแห่งขันธ์ห้า ในหนังสือ ปฏิจจ. โอ. หน้า 127 - 131 และที่หน้า 338 - 341)

ในสูตรอื่นแสดงไว้ด้วยการรู้ชัดอายตนิกธรรม 6 หมวด ๆ ละ 5 อย่างคือ จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดขึ้นจากจักขุสัมผัส ฯลฯ รวมเป็นรู้ชัดอายตนิกธรรม 30 อย่าง ว่าเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๙๙/๑๔๗. อีกสูตรหนึ่ง แสดงไว้ด้วยการปรากฏของอายตนิกธรรมทั้ง 6 หมวดนั้น โดยความเป็นอนิจจัง ก็มี. - ๑๘/๑๘๐/๒๔๙).


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง