ไปยังหน้า : |
ภิกษุ ท. ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ (อาการที่) เวทนา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้ง (วิทิตา) แก่ภิกษุ, (อาการที่) เวทนาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) เวทนาดับลงก็แจ่มแจ้ง.
(อาการที่) วิตก เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ, (อาการที่) วิตกเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) วิตกดับลงก็แจ่มแจ้ง.
(อาการที่) สัญญา เกิดขึ้นก็แจ่มแจ้งแก่ภิกษุ, (อาการที่) สัญญาเข้าไปตั้งอยู่ก็แจ่มแจ้ง, (อาการที่) สัญญาดับลงก็แจ่มแจ้ง.
ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ.
- มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๔๒/๘๐๔.
(สัมปชัญญะในบาลีทั่ว ๆ ไป เป็นระดับธรรมดา ซึ่งหมายถึงการรู้สึกตัวอยู่ในการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถหนึ่ง ๆ ดังข้อความที่กล่าวไว้ในหน้า 788 แห่งหนังสือเล่มนี้. ส่วนสัมปชัญญะในกรณีนี้ เป็นระดับสูงสุด คือ รู้สึกอย่างแจ่มแจ้งในเมื่อ เวทนา สัญญา และวิตก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ; มีผลในทางให้เกิดความสิ้นอาสวะได้มากกว่า).