ความดับเย็นของเวทนามีได้ แม้ในทิฏฐธรรมนี้

วัปปะ! เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม10.1 ทั้งหลาย 6 ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสิตสัมปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ....; รู้สึกกลิ่นด้วยมานะแล้ว ....; ลิ้มรสด้้วยชิวหาแล้้ว ....; ถููกต้้องสัมผัสผิวหนังด้้วยผิวกายแล้้ว ....; รู้สึกธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นสุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่; เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้10.2 นั่นเทียวจนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย ดังนี้.

วัปปะ ! เปรียบเหมือนเงาย่อมปรากฏเพราะอาศัยเสาสดมภ์ (ถูณะ). ลำดับนั้น บุรุษถือเอามาซึ่งจอบและตะกร้า เขาตัดซึ่งเสานั้นที่โคน, ครั้นตัดที่โคนแล้ว พึงขุด, ครั้นขุดแล้ว พึงรื้อซึ่งรากทั้งหลาย ไม่ให้เหลือแม้ที่สุดสักแต่ว่าเท่าต้นแฝก. บุรุษนั้น พึงตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่่ ; ครั้นตัดซึ่งเสานั้นให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่แล้ว พึงผ่า; ครั้นผ่าแล้ว พึงจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ; ครั้นจักให้เป็นซีกเล็ก ๆ แล้ว พึงผึ่งให้แห้งในลมและแดด ; ครั้นผึ่งให้แห้งในลมและแดดแล้ว พึงเผาด้วยไฟ ; ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงทำให้เป็นผงเถ้าถ่าน; ครั้นทำให้เป็นผงเถ้าถ่านแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงให้ลอยไปในกระแสอันเชี่ยวแห่งแม่น้ำ . วัปปะ! เงาอันใดที่อาศัยเสาสดมภ์, เงาอันนั้นย่อมถึงซึ่งความมีมูลเหตุอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน กระทำให้ถึงความไม่มีอยู่ มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา, นี้ฉันใด ; วัปปะ ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ เมื่อภิกษุุจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว สตตวิหารธรรม ท. 6 ประการ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นถึงทับแล้ว : ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัปชัญญะอยู่ ; ฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว....; รู้สึกกลิ่นด้วยฆานะแล้ว....; ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ....; ถูกต้องสัมผัสผิวหนังด้วยกายะแล้ว ....; รู้สึกธัมมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ไม่เป็นผู้ดีใจ ไม่เป็นผู้เสียใจ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่. ภิกษุนั้น เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีกายเป็นที่สุดรอบอยู่; เมื่อเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยซึ่งเวทนามีชีวิตเป็นที่สุดรอบอยู่ ; เธอย่อมรู้ชัดว่า "เวทนาทั้งหลายทั้งปวง อันเราไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็นในอัตตภาพนี้นั่นเทียว จนกระทั่งถึงที่สุดรอบแห่งชีวิต เพราะการแตกทำลายแห่งกาย" ดังนี้.

- จตุกฺก. อํ. 21/269/195.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง