ไปยังหน้า : |
ผู้กายสักขี (ตามคำของพระอานนท์)11.21
"อาวุโส ! มีคำล่าวกันอยู่ว่า 'กายสักขี กายสักขี' ดังนี้. อาวุโส ! กายสักขีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ?" (พระอุทายีถามพระอานนท์ พระอานนท์เป็นผู้ตอบ).
อาวุโส ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่. อนึ่ง อายตนะคือฌานนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ๆ ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่. อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยปริยาย.
(ในกรณีแห่ง ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีข้อความที่กล่าวไว้โดยทำนองเดียวกันกับข้อความในกรณีแห่งปฐมฌานทุกประการ และในฐานะเป็นกายสักขี โดย ปริยาย. ส่วน สัญญาเวทยิตนิโรธ ชนิดที่มีการสิ้นอาสวะนั้น กล่าวไว้ในฐานะเป็นกายสักขี โดย นิปปริยาย ด้วยข้อความดังต่อไปนี้ :-)
อาวุโส ! นัยอื่นอีกมีอยู่ : ภิกษุ ก้าวล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่. หนึ่ง เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอนั้นก็สิ้นไปรอบ. อนึ่ง อายตนะคือสัญญาวเวทยิตนิโรธนั้น (เป็นธรรมารมณ์มีรสและกิจเป็นต้น) ฉันใด ๆ, เธอถูกต้องธรรมารมณ์นั้น (โดยรสและกิจเป็นต้น) ฉันนั้น ๆ ด้วยนามกาย แล้วแลอยู่. อาวุโส ! กายสักขี อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล เมื่อกล่าว โดยนิปปริยาย.
(ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า คำว่า "กายสักขี-มีกายเป็นพยาน " นั้น หมายความว่า ได้เสวยรสแห่งฌานเป็นต้น ด้วยนามกาย คือด้วยใจของตน ; และคำว่า "โดยนิปปริยาย" นั้น หมายถึงมีการสิ้นอาสวะในกรณีนั้น, ถ้ายังไม่สิ้นอาสวะ เรียกได้แต่เพียงว่า โดยปริยาย).