ก. หมวดลมหายใจเข้า - ออก (คือกาย)

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่าง ก็ตาม, ย่อมนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า, เธอผู้มีสตินั่นเทียว หายใจเข้า มีสติหายใจออก (1) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้ายาว, หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว ; หรือว่า (2) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัด ว่าเราหายใจเข้าสั้น, หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น ; (3) เธอย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า, เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ; (4) เธอย่อมทำในบทศึกษาว่า เรา ทำกายสังขาร (คือลมหายใจเข้าออก) ให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า, เราทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ; เช่นเดียวกับนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ชำนาญ เมื่อเขาชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว, เมื่อชักเชือกกลึงชั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.

ด้วยอาการอย่าง (กล่าวมา) นี้แล ที่ภิกษุเป็นผู้ มีปกติพิจารณาเห็นกาย ในกายอันเป็นภายใน (คือของตน) อยู่ บ้าง, ในกายอันเป็นภายนอก (คือของผู้อื่น) อยู่ บ้าง, ในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ บ้าง ; และเป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมอันเป็นเหตุเกิดขึ้น (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นธรรมเป็นเหตุเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, เห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไป (แห่งกาย) ในกาย (นี้) อยู่ บ้าง, ก็แหละ สติ (คือความระลึก) ว่า “กายมีอยู่” ดังนี้ของเธอนั้น เป็นสติที่เธอดำรงไว้เพียงเพื่อความรู้20.2 เพียงเพื่ออาศัยระลึก, ที่แท้เธอเป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ และเธอไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลกนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นกายในกายอยู่ แม้ด้วยอาการอย่างนี้.


เกี่ยวกับธรรมโฆษณ์ออนไลน์ (Disclaimer)
แม้ระบบ "ธรรมโฆษณ์ออนไลน์" พยายามปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ศึกษาก็พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือต้นฉบับ ที่มีการพิมพ์ครั้งล่าสุด ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง"

หนังสือที่เกี่ยวข้อง