ไปยังหน้า : |
เทฺว อิมา จกฺขุมตา ปกาสิตา นิพฺพานธาตู อนิสฺสิเตน ตาทินา เอกา หิ ธาตุ อิธ ทิฏฺฐธมฺมิกา สอุปาทิเสสา ภวเนตฺติสงฺขยา อนุปาทิเสสา ปน สมฺปรายิกา ยมฺหิ นิรุชฺฌนฺติ ภวานิ สพฺพโส. เย เอตทญฺญาย ปทํ อสงฺขตํ วิมุตฺตจิตฺตา ภวเนตฺติสงฺขยา เต ธมฺมสาราธิคมกฺขเย รตา ปหํสุ เต สพฺพภวานิ ตาทิโนติ. อยมฺปิ อตฺโถ วุตฺโต ภควตา อิติ เม สุตนฺติ.
- อิติวุ. ขุ. 25/258-259/222.
(นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ เป็นนิพพานธาตุสำหรับพระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะกิเลสแล้ว ทั้งสองชนิด หากแต่ผู้บรรลุนิพพานธาตุชนิดสอุปาทิเสสะนั้น ระบบแห่งความรู้สึกทางอินทรีย์ห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ของท่าน ยังไม่ถูกกำจัดโดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจนิพพานธาตุนั้น ความเคยชินในความรู้สึกต่ออารมณ์สำหรับจะรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ยังเหลืออยู่ จึงเรียกว่า สอุปาทิเสสะ - มีอุปาทิเหลืออยู่ นั่นคือดังข้อความข้อ ก.; ส่วนพระอรหันต์จำพวกหลังนั้น ความเคยชินในความรู้สึกต่ออารมณ์ของอินทรีย์ทั้งห้า ถูกนิพพานธาตุอย่างที่สองกำจัดแล้วสิ้นเชิง เวทนาของท่านจึงเย็นสนิท ไม่รู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จึงเรียกว่า อนุปาทิเสสะ - ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ ดังข้อความที่กล่าวแล้วในข้อ ข. หาใช้ต้องทำลายขันธ์ถึงมรณภาพไปไม่ เพราะบาลีมีอยู่อย่างชัดเจนว่า เวทนาเหล่านั้นดับเย็น (คือไม่เป็นสุขหรือเป็นทุกข์) ในอัตภาพนี้หรือในโลกนี้เอง.
การที่มีผู้เข้าใจไปว่า นิพพานธาตุอย่างแรกเป็นของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่ และนิพพานธาตุอย่างหลังเป็นของพระอรหันต์ผู้ถึงแก่มรณภาพแล้วดังนี้นั้น คงจะเนื่องจากความเข้าใจผิดต่อคำบาลีสองคำ ในคาถาผนวกท้ายสูตรนั่นเอง คือคำว่า สมฺปรายิกา ซึ่งแปลกันว่าโลกหน้า หรือต่อตายแล้ว ซึ่งที่แท้แปลว่า ในเวลาถัด ๆ ไป ก็ได้, ส่วนคำ ว่า ทิฏฐธมฺมิกา มีความหมายว่า ทันทีทันใดที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องระบุว่าในชาตินี้ภพนี้เสมอไป.
ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า นิพพานธาตุทั้งสองอย่างนี้ มีสำหรับพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันเพียงแต่ว่า พวกแรกนั้น อินทรีย์ยังรู้สึกต่อสุขและทุกข์ แม้จะไม่มีความยึดถือในเวทนานั้น, , ส่วนพวกหลังนั้นไม่มีความรู้สึกเป็นสุขหรือทุกข์ จึงกล่าวว่าเวทนาเป็นของเย็น ในอัตภาพนี้ หรือในโลกนี้. ข้อนี้จะยุกติเป็นอย่างไร ผู้ศึกษาจงพิจารณาดูเองเถิด).